วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ประวัติอินทรชิต

อินทรชิต

(สันสกฤต: इन्‍द्र जीत, อังกฤษIndrajit) เดิมมีชื่อว่า รณพักตร์ เป็น บุตรทศกัณฐ์กับนางมณโฑ มีมเหสีชื่อ นางสุวรรณกันยุมา มีบุตรชื่อยามลิวันและกันยุเวก มีสีกายสีเขียว มีฤทธิ์เก่งกล้ามาก เมื่อโตขึ้นจึงทูลลาพระบิดาและพระมารดาเพื่อไปศึกษาวิชากับพระฤๅษีโคบุตรจนสำเร็จวิชามนต์มหากาลอัคคี จึงกราบลาอาจารย์เพื่อไปบำเพ็ญตบะ เมื่อบำเพ็ญจนเก่งกล้าแล้วจึงทำพิธีขออาวุธวิเศษต่อม
หาเทพทั้ง 3 มหาเทพจึงประทานอาวุธวิเศษให้ คือ พระอิศวรประทานศรพรหมาสตร์และพรสามารถแปลงร่างเป็นพระอินทร์ ได้ พระพรหมประทานศรนาคบาศและพรไม่ให้ตายบนพื้นดินหากตายก็ให้ตายบนอากาศหากเศียรขาดตกลงพื้นก็ให้เกิดไฟไหม้ทั่วทั้งจักรวาลต้องนำพานแว่นฟ้าของพระพรหมเท่านั้นมารองรับเศียรจึงจะระงับเหตุได้ ส่วนพระนารายณ์ประทานศรวิษณุปานัม เมื่อได้รับพรและอาวุธวิเศษแล้วจึงเกิดความหึกเหิมบุกสวรรค์และท้าพระอินทร์รบ และชนะพระอินทร์ ทศกัณฐ์เมื่อทราบข่าวบุตรของตนมีชัยชนะก็ดีใจมากจึงเปลื่ยนชื่อใหม่เป็น อินทรชิต หมายถึง "ชนะพระอินทร์" แต่ด้วยไม่ตั้งตนอยู่ในธรรมและการประพฤติชั่วของตน ภายหลังถูกศรของพระลักษณ์สิ้นใจตาย

ลักษณะหัวโขนอินทรชิต[แก้]

กายสีเขียว หนึ่งหน้า สองกร ตาโพลง เขี้ยวคุด (เขี้ยวดอกมะลิ) ปากหุบ ทรงชฎาเดินหน หรือ กาบไผ่ยอดปัด จอนหูมี ๒ แบบ คือจอนหูแบบมนุษย์และจอนหูแบบยักษ์ นอกจากนี้ยังทำหน้าสีทองอีกแบบหนึ่ง และในตอนเป็นเด็กสวมกะบังหน้ามีเกี้ยวรัดจุก(ชฎาเด็กหรือหัวกุมารไว้จุก)กายสีเขียว ๑ พักตร์ ๒ กร

อินทรชิตในรามายณะ[แก้]

อินทรชิต มีชื่อเดิมว่า เมฆนาท[1] (สันสกฤต: मेघनाथ) เนื่องจากเวลาเกิด มีเสียงร้องไห้ดังเสียงฟ้าร้อง อินทรชิตรักและเทิดทูนบิดาของตนยิ่งกว่าสิ่งใด สามารถเอาชนะพระลักษณ์และพระรามในสงครามหลายครั้งเนื่องจากพิธีกรรมที่บำเพ็ญทุกครั้งก่อนออกรบ แต่ครั้งสุดท้ายพระลักษณ์บุกโจมตีในระหว่างทำพิธี อินทรชิตไม่ทันตั้งตัวแต่ยังต่อสู้อย่างกล้าหาญจนสิ้นใจตาย หลังจากทศกัณฐ์ทราบข่าวการตายของอินทรชิต ทศกัณฐ์เกิดความแค้นถึงกับตัดสินใจที่จะประหารนางสีดาที่เป็นต้นเหตุการตายของลูกชายและกุมภกรรณน้องชาย แต่เสนาบดีเตือนสติว่า ทั้งกุมภกรรณ ,อินทรชิต, และเหล่าทหารทั้งหมดยอมสละชีวิตเพื่อนางสีดาได้อภิเษกกับทศกัณฐ์ ถ้าประหารนางไปการตายของเหล่านี้จะสูญเปล่า เพราะทศกัณฐ์เป็นทั้งพระราชา พี่ชาย และพ่อ ของเหล่าทหารที่ตายไปในครั้งนี้จะต้องรับผิดชอบด้วยการออกรบด้วยตัวเอง[2]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น